โอ้วๆ เย้ ..ฮา อุ ลั้น ล้า ยินดีต้อนรับเจ้าค้า สถานะ (บล็อกเสร็จแล้วคร้าบ)

หลังจากที่มีโอกาสได้ทำบล็อก ก็ขอกล่าวคำว่า "สวัสดีเจ้าค้าเอ้ย "
ในที่สุดเราก็ทำบล็อกเสร็จมห้เหมาะแก่ความสาสมใจ
ยินดีต้อนรับเพื่อนๆทุกๆคนที่เข้ามาเยี่ยมชมบล้อกน้าเจ้าค้า สำหรับบล็อกของเรานี้
เป็นบล็อกสร้างสรรค์ ดังสโลแกน "กษัตริย์น้อยนักพัฒนา" ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่ากษัติร์
กลุ่มของพวกเราก็จะรวมแต่เด็กน่ารัก หน้าตาเอ๋อเหรอเอาไว้ ฮุๆๆ ก็พูดไปเรื่อย
ชมเสร็จก็เม้นๆ น่ะเจ้าค้า ถ้าไม่เม้นเจ้าของบล็อกคงน้อยใจเป็นอันแน้แท้ พวกเราจะตามหลอกหลอนท่าน (ไม่ใช่ปี๋)

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552

กิตติกรรมประกาศ


กิตติกรรมประกาศ

การจัดทำโครงงานวิชาชีววิทยา เรื่อง “กลิ่นจ๋า….ถ่านมาแล้วจ๊ะ ” ได้รับการสนับสนุนจากคณะผู้ปกครอง เพื่อนๆ พี่ๆ และอาจารย์หลาย ๆ ท่าน ดังรายนามต่อไปนี้
อาจารย์รตนัตตยา จันทนะสาโร
คำแนะนำและคำปรึกษาด้านข้อมูลต่าง ๆ และยังเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ที่คอยชี้แนะในส่วนที่ถูกต้อง
นางวิภาดา จำปีศรี
ข้อมูลประกอบการศึกษาค้นคว้าเรื่องสมุนไพรในการทำโครงงาน
นายฉัตรชัย มรกตพรรณ
ข้อมูลประกอบงานบางส่วน
นายปริญญา เทพวารินทร์
แรงบันดาลใจในการทำโครงงาน
รตต. สวาสดิ์ จำปีศรี
ความคิดเห็นการเลือกใช้สมุนไพร
นางสาวจิดาภา บุญพริ้ง
เอื้ออำนวยกล้องถ่ายภาพ
โรงเรียนภัทรบพิตร
สถานที่ในการทำการทดลอง
ขอบใจเพื่อน ๆ ทุกคนทั้งภายในกลุ่ม และเพื่อนๆในห้อง ที่ให้คำแนะนำ และติชม และคำปรึกษาด้านเว็บไซด์ที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ รวมทั้งที่ ที่คอยให้ความช่วยเหลือในทุก ๆ ด้าน จนทำให้สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

คณะผู้จัดทำ

นายสุรศักดิ์ หาญลำยวง เลขที่ 7
นางสาวสุพัตรา เกรัมย์ เลขที่
นางสาวกมลวรรณ ลิ้มอำไพอาภรณ์ เลขที่ 10
นางสาวทรายจินตนา วุฒาพิทักษ์ เลขที่ 15

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1
โรงเรียนภัทรบพิตร อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1

ที่มาและความสำคัญ









เนื่องด้วยมาจากจำนวนนักเรียนในโรงเรียนเรามีจำนวนมากเป็นอันดับสองของโรงเรียนประจำจังหวัด และเป็นโรงเรียนต้นแบบของโรงเรียนในฝัน เมื่อนักเรียนเพิ่มมากขึ้นแต่ทางด้านอาคารสถานที่ในโรงเรียนก็มีใช้อย่างจำกัด ก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศที่มีอยู่ในโรงเรียนของเรา ในที่นี่จะขอกล่าวถึงปัญหาได้แก่ กลิ่นเหม็นจากห้องน้ำชาย และห้องน้ำหญิง กลิ่นเหม็นในตู้เย็น ตู้เสื้อผ้า ห้องที่ไม่มีอากาศถ่ายเท ฯลฯ
จากจุดของสาเหตุอันเนื่องมากจากการไม่ร่วมมือกันรักษาความสะอาดนี้เอง ที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคณะครู อาจารย์ และนักเรียนที่อยู่ใกล้หรือแม้กระทั่งแขกผู้ใหญ่ที่มาเยี่ยมเยี่ยนโรงเรียนของเราได้สัมผัสกับกลิ่นอันไม่พึงประสงค์เหล่านี้ อาจทำให้คณะครูอาจารย์ หรือแม้กระทั่งบุคคลทั่วไปที่เคยแวะเข้ามาเยี่ยมชมโรงเรียนไม่ประทับใจในความสะอาดของอาคารสถานที่ จนเป็นสาเหคุของการไม่มาเยี่ยมชมอีกต่อไปเลยก็ว่าได้ ดังคำสอนที่คนสมัยก่อนเคยพร่ำสอนว่า “ห้องน้ำเปรียบเสมือนหน้าตาของคนเรา” ถ้าห้องน้ำสะอาดโดยปราศจากกลิ่นรบกวนก็เป็นสิ่งที่น่าประทับใจต่อผู้ที่มาพบเห็นได้เป็นอย่างมาก
นอกเหนือจากความสะอาดที่จะต้องช่วยกันดูแลแล้ว ทางกลุ่มของข้าพเจ้าจึงคิดค้นวิธีที่จะขจัดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์เหล่านี้ โดยวิธีง่ายๆตามภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งอุปกรณ์ที่จะใช้ทดลองโดยการนำสมุนไพรไทยที่หาได้ง่ายตามบ้านเรือนโดยทั่วไป มาประยุกต์คิดค้นเพื่อให้ได้ ถ่านดูดกลิ่นจากสมุนไพรไทย




จุดประสงค์ของการทำงาน
-เรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาทางมลภาวะของสิ่งแวดล้อม
-สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดมาประยุกต์ให้เข้ากับการทำงานเพื่อให้ได้การทดลองที่แปลกใหม่
-นำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่มาพัฒนาต่อไปตามลำดับ
-เพื่อศึกษาคุณสมบัติการดูดซับกลิ่นของสมุนไพรชนิดต่างๆ
-ได้เรียนรู้ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ของการทำโครงงานร่วมกันกับสมาชิกภายในกลุ่ม
-เรียนรู้ที่จะปฏิบัติลงมือการทำงานได้อย่างชำนาญและแท้จริง
-เรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน
-เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม
สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
ถ้าถ่านจากสมุนไพรช่วยดับกลิ่นได้ ดังนั้น เมื่อเรานำถ่านจากสมุนไพรไปวางไว้ในบริเวณที่มีกลิ่น บริเวณนั้นกลิ่นจะหายไป
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
การกำหนดและควบคุมตัวแปร
ตัวแปรต้น ถ่าน , สมุนไพรต่าง (มะกรูด ตะไคร้ กะเพรา )
ตัวแปรตาม กลิ่นไม่พึงประสงค์หายไป
ตัวแปรควบคุม ระยะเวลาในการหมัก , สถานที่ , ขนาดของห้องน้ำ

อุปกรณ์และวิธีการทดลอง

ถ่าน
สมุนไพร มะกรูด กระเพรา ตะไคร้
แม็กเย็บกระดาษ
กระดาษบรรจุภัณฑ์
มีด
หม้อ

ขั้นตอนการทดลอง

1. นำสมุนไพรที่ได้มาหันส่วนที่มีกลิ่นแรงเป็นชิ้นเล็กๆ














2. ใช้ค้อนบดถ่านให้ละเอียด













3. นำถ่านมาผสมกับสมุนไพรเข้าด้วยกัน แล้วคลุกให้เข้ากัน












ขั้นเตรียมบรรจุภัณฑ์

- พับแล้วตัดกระดาษออกให้เท่าๆกัน




















ใช้แม็กเย็บกระดาษหนีบกระดาษตรงมุม เพื่อป้องกันการรั่วไหล














นำถ่านสมุนไพรชนิดต่างๆ กรอกใส่ถุงที่จัดเตรียมไว้












เมื่อกรอกได้ครบทุกชนิดแล้ว เราจะได้ถ่านดับกลิ่นจากสมุนไพรไทย ที่มีลักษณะสะดวกต่อการใช้งาน ดังภาพ


กระเพรา ตะไคร้



มะกรูด

ผลการทดลอง

จากการตรวจสอบของคณะกรรมการพิสูจน์กลิ่นมีความเห็นพ้องตรงกันว่า

สมุนไพร (กระเพรา) สถานที่ ห้องน้ำหญิง 1

















































สรุปผลการทดลอง
ชนิดของสมุนไพรมีผลต่อการกำจัดมลพิษทางกลิ่น จากผลการทดลองพบว่า ถ่านดับกลิ่นที่ได้จากกระเพรา และ ตะไคร้ มีผลการทดลองไม่ได้ผลตามที่คาดหวัง จากการใช้สมุนไพรที่แตกต่างกัน ทำให้ทราบว่าสมุนไพรชนิดใดมีประสิทธิภาพในการดูดกลิ่นมากกว่ากัน ทั้งที่ควบคุมปริมาณถ่านให้เท่ากัน



ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน
1. ด้านสิ่งแวดล้อม สามารถลดปัญหาทางกลิ่นได้โดยการนำนำองค์ความรู้ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดมาประยุกต์ให้เข้ากับการทำงานเพื่อให้ได้การทดลองที่แปลกใหม่ โดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่มาพัฒนาต่อไปตามลำดับ
2. กระบวนการทำงานกลุ่ม ขอสรุปออกมาได้เป็นดังนี้
-เรียนรู้ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ของการทำโครงงานร่วมกันกับสมาชิกภายในกลุ่ม
-เรียนรู้ที่จะปฏิบัติลงมือการทำงานได้อย่างชำนาญและแท้จริง
-เรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน
ปัญหา * (อุปกรณ์ที่ใช้ทำการทดลองไม่เพียงพอ)
การแก้ปัญหา หาอุปกรณ์ทที่สามารถใช้แทนกันได้














วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

อุปกรณ์และวิธีทำการทดลอง

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

มะกรูด เป็นได้ทั้งพืชเครื่องเทศและสมุนไพร
ชื่อท้องถิ่น : มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะหูด (หนองคาย) ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) โกรยเซียด (เขมร) มะขู (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : Porcupine Orange, Kiffir Lime, Leech Lime
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus hystrix DC.
ส่วนที่ใช้ ส่วนที่มีกลิ่นแรง ได้แก่ใบและผล นอกจากมะกรูดจะยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดีแล้ว ยังมีรายงานว่าน้ำมันจาก ใบมะกรูดจะกระตุ้นการเจริญของเชื้อราบางชนิดได้อีกด้วย เช่น กระตุ้นการสร้างเส้นใยของราพวกมูเคอร์ อัลเทอร์นาเรีย แอสเปอร์จิลลัส และกระตุ้นการสร้างสปอร์ของแอสเปอร์จิลลัส การที่มะกรูดสามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้นั้น เนื่องจากมีสารพวกเจอรา นิออล นีโรลิดอล ไอโซพูลีกอล ลินาลูล และ เทอร์ไปนีนออล อยู่ด้วย ซึ่งมีรายงานว่าสารเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้



กะเพรา เป็นพืชผักจำพวกเครื่องเทศที่ใช้ใบสดใบอ่อนในการประกอบอาหาร เพื่อช่วยดับกลิ่นคาวและช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum linn.
ชื่ออื่น : กระเพราแดง กระเพราขาว (ภาคกลาง) ก่ำก้อขาว ก่ำก้อดำ กอมก้อขาว กอมก้อดำ (เชียงใหม่-ภาคเหนือ) ห่อตูปลู ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง-แม่อ่องสอน)
ส่วนที่ใช้ ใบกะเพรามีน้ำมันหอมระเหยสีเหลือง มีกลิ่นหอมฉุนคล้ายกลิ่นของน้ำมันกานพลู ส่วนในเมล็ดมีน้ำมันระเหยยากสีเหลืองอมเขียว ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันปาล์มมิติค สเตียริค โอเลอิค กรดไลโนเลนิค และเมล็ดจะมีเมือกหุ้มอยู่ เมื่อสลายตัวจะให้สารไซโลส กรดกลูคูโรนิค คุณภาพของน้ำมันหอมระเหยจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ



ตะไคร้ : (Takhrai), Lemongrass)
ตะไคร้ เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus Stapf.
วงศ์ : GRAMINEAE
ชื่ออื่นๆ : ภาคเหนือ เรียก จะไค (Cha-khai) จะไค้ (Cha-khai), ภาคใต้ เรียก ไคร (Khrai),ชวา เรียก ซีเร (Sere)
ส่วนที่ใช้ ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูง น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆจะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจากมีกลิ่นที่แรงจึงช่วยทำให้ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมากๆ

การกำหนดและควบคุมตัวแปร

ตัวแปรต้น ถ่าน , สมุนไพรต่าง (มะกรูด ตะไคร้ กะเพรา )

ตัวแปรตาม กลิ่นไม่พึงประสงค์หายไป

ตัวแปรควบคุม ระยะเวลาในการหมัก , สถานที่ , ขนาดของห้องน้ำ

3. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า

ถ้าถ่านจากสมุนไพรช่วยดับกลิ่นได้ ดังนั้น เมื่อเรานำถ่านจากสมุนไพรไปวางไว้ในบริเวณที่มีกลิ่น บริเวณนั้นกลิ่นจะหายไป