โอ้วๆ เย้ ..ฮา อุ ลั้น ล้า ยินดีต้อนรับเจ้าค้า สถานะ (บล็อกเสร็จแล้วคร้าบ)

หลังจากที่มีโอกาสได้ทำบล็อก ก็ขอกล่าวคำว่า "สวัสดีเจ้าค้าเอ้ย "
ในที่สุดเราก็ทำบล็อกเสร็จมห้เหมาะแก่ความสาสมใจ
ยินดีต้อนรับเพื่อนๆทุกๆคนที่เข้ามาเยี่ยมชมบล้อกน้าเจ้าค้า สำหรับบล็อกของเรานี้
เป็นบล็อกสร้างสรรค์ ดังสโลแกน "กษัตริย์น้อยนักพัฒนา" ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่ากษัติร์
กลุ่มของพวกเราก็จะรวมแต่เด็กน่ารัก หน้าตาเอ๋อเหรอเอาไว้ ฮุๆๆ ก็พูดไปเรื่อย
ชมเสร็จก็เม้นๆ น่ะเจ้าค้า ถ้าไม่เม้นเจ้าของบล็อกคงน้อยใจเป็นอันแน้แท้ พวกเราจะตามหลอกหลอนท่าน (ไม่ใช่ปี๋)

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

มะกรูด เป็นได้ทั้งพืชเครื่องเทศและสมุนไพร
ชื่อท้องถิ่น : มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะหูด (หนองคาย) ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) โกรยเซียด (เขมร) มะขู (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : Porcupine Orange, Kiffir Lime, Leech Lime
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus hystrix DC.
ส่วนที่ใช้ ส่วนที่มีกลิ่นแรง ได้แก่ใบและผล นอกจากมะกรูดจะยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดีแล้ว ยังมีรายงานว่าน้ำมันจาก ใบมะกรูดจะกระตุ้นการเจริญของเชื้อราบางชนิดได้อีกด้วย เช่น กระตุ้นการสร้างเส้นใยของราพวกมูเคอร์ อัลเทอร์นาเรีย แอสเปอร์จิลลัส และกระตุ้นการสร้างสปอร์ของแอสเปอร์จิลลัส การที่มะกรูดสามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้นั้น เนื่องจากมีสารพวกเจอรา นิออล นีโรลิดอล ไอโซพูลีกอล ลินาลูล และ เทอร์ไปนีนออล อยู่ด้วย ซึ่งมีรายงานว่าสารเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้



กะเพรา เป็นพืชผักจำพวกเครื่องเทศที่ใช้ใบสดใบอ่อนในการประกอบอาหาร เพื่อช่วยดับกลิ่นคาวและช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum linn.
ชื่ออื่น : กระเพราแดง กระเพราขาว (ภาคกลาง) ก่ำก้อขาว ก่ำก้อดำ กอมก้อขาว กอมก้อดำ (เชียงใหม่-ภาคเหนือ) ห่อตูปลู ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง-แม่อ่องสอน)
ส่วนที่ใช้ ใบกะเพรามีน้ำมันหอมระเหยสีเหลือง มีกลิ่นหอมฉุนคล้ายกลิ่นของน้ำมันกานพลู ส่วนในเมล็ดมีน้ำมันระเหยยากสีเหลืองอมเขียว ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันปาล์มมิติค สเตียริค โอเลอิค กรดไลโนเลนิค และเมล็ดจะมีเมือกหุ้มอยู่ เมื่อสลายตัวจะให้สารไซโลส กรดกลูคูโรนิค คุณภาพของน้ำมันหอมระเหยจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ



ตะไคร้ : (Takhrai), Lemongrass)
ตะไคร้ เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus Stapf.
วงศ์ : GRAMINEAE
ชื่ออื่นๆ : ภาคเหนือ เรียก จะไค (Cha-khai) จะไค้ (Cha-khai), ภาคใต้ เรียก ไคร (Khrai),ชวา เรียก ซีเร (Sere)
ส่วนที่ใช้ ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูง น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆจะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจากมีกลิ่นที่แรงจึงช่วยทำให้ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมากๆ

1 ความคิดเห็น:

  1. เอ็งก็ลองตั้งค่าใหม่ เอาอันที่ทำก่อนไว้บนดิ

    ตั้งค่าวันที่ทำน่ะ
    เค้าว่ามันน่าจะมีนะ

    ลองดู

    ตอบลบ